บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด

รู้หรือไม่ ว่า เจ้าของเลย์ คือ เป๊ปซี่

หากซื้อมันฝรั่งทอดกรอบ เลย์ มากิน เมื่อพลิกหลังซองจะเห็นชื่อบริษัทที่ผลิต โดยจะเขียนว่าผลิตโดย บริษัท เป๊บซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด นะคะ ซึ่งสรุปแล้ว เลย์ กับ เป๊ปซี่ ที่แท้เป็นเจ้าของเดียวกันนั่นเองค่ะ

 

 

จริงๆแล้ว บริษัท PepsiCo เกิดจากการควบรวมกันระหว่าง Pepsi-Cola และ Frito-Lay ในปี 1965 ซึ่งต่อมาได้ขยายสินค้าในเครือมากมาย เช่น เมาเทนดิว เกเตอเรด เซเว่นอัพ มิรินด้า ลิปตัน ชีโตส โดริโทส เป็นต้น แต่คู่หูที่เป็นเสาหลักคือ เป๊ปซี่ และ เลย์

 

PepsiCo ถือเป็นบริษัทอาหารและเครื่องดื่ม ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจาก Nestle โดยมีทั้งหมด 22 Brand ในเครือ แต่ละ Brand มีรายได้เกินกว่า $1,000 ล้าน ใน 200 ประเทศทั่วโลกอีกด้วยนะคะ

ในปี 2559 บริษัทมีรายได้รวม $63,000 ล้าน (2.1 ล้านล้านบาท) และกำไร $6,300 ล้าน (2.1 แสนล้านบาท)กันเลยนะคะ

สำหรับในไทย บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง เป็นผู้ผลิต จำหน่าย หรือนำเข้า เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว ของ PepsiCo รวมทั้งยี่ห้ออื่นๆด้วย

ส่วนแบ่งตลาด เลย์ และ เป๊ปซี่ ในไทยเป็นอย่างไรมาลองดูกันค่ะ

 

ตลาดขนมขบเคี้ยวไทยปี 2559 มีมูลค่า 39,587 ล้านบาท โดย

– เลย์ มีส่วนแบ่งมากที่สุด 18%
– รองลงมาเป็น สาหร่ายเถ้าแก่น้อย 8%
– ทาโร่ 6%
– และเทสโต 5%

ตลาดน้ำอัดลมไทยปี 2558 มีมูลค่า 63,910 ล้านบาท โดย

– โค้กที่ 36%
– เป๊ปซี่ 17% เป็นอันดับ 2
– เอสโคล่าอยู่ที่ 10%

รายได้ของ เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง

ปี 2555 รายได้ 13,134 ล้านบาท กำไร 1,781 ล้านบาท
ปี 2556 รายได้ 18,148 ล้านบาท กำไร 753 ล้านบาท
ปี 2557 รายได้ 20,475 ล้านบาท กำไร 175 ล้านบาท
ปี 2558 รายได้ 21,316 ล้านบาท กำไร 306 ล้านบาท
ปี 2559 รายได้ 22,597 ล้านบาท กำไร 896 ล้านบาท

โดยล่าสุดบริษัทมีทรัพย์สินรวม 14,308 ล้านบาท (ข้อมูลจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า)
จากข้อมูล จะเห็นว่า รายได้บริษัทสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่กำไรวูบลงไปพักหนึ่ง อาจเป็นเพราะเมื่อปี 2555 บริษัทมีนโยบายที่จะดำเนินธุรกิจการผลิต และจัดจำหน่ายเป๊ปซี่เอง จึงได้ยกเลิกสัญญากับ บริษัทเสริมสุข ที่เป็น Partner กันมาอย่างยาวนานเกือบ 60 ปี ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่าย และใช้เวลาพักใหญ่ในการลงทุนโรงงาน เพื่อผลิตสินค้าสู่ตลาด
ต่อมาบริษัทได้ใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า Power of One ในการร่วมกันทำตลาด ระหว่างขนมและเครื่องดื่มในเครือ เช่นจับคู่ เลย์-เป๊ปซี่ จึงอาจจะใช้จ่ายได้คุ้มค่ามากขึ้น ไม่สิ้นเปลือง โฆษณาไปเลยทีเดียว เกิดเป็น Synergy และผลประกอบการดีขึ้นนั่นเองค่ะ

 

หากจะประเมินความใหญ่โตของบริษัทนี้แล้ว ถ้าหากบริษัทนี้อยู่ใน SET จะมีรายได้สูงเป็นอับดับที่ 61 ของตลาด และเป็นอันดับ 5 ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม สูงกว่าหุ้นอย่าง M เอ็มเคสุกี้ (15,498 ล้านบาท)เลยทีเดียวนะคะ ส่วนกำไร จะอยู่ในอันดับที่ 126 ของตลาด และเป็นอันดับ 11 ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม สูงกว่าหุ้นอย่าง โออิชิ (887 ล้านบาท) หรือ เถ้าแก่น้อย (782 ล้านบาท)นั่นเองค่ะ

 

จะเห็นได้ว่า ตลาดเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว นั้นไม่ว่าเป็นประเทศไหน ก็มีขนาดใหญ่ด้วยกันทั้งนั้นนะคะ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริโภคเป็นเรื่องปากท้องของผู้คนนั่นเองค่ะ…

ประวัติที่น่าสนใจของ “ เลย์ “ แบรนด์มันฝรั่งที่เกิดจากชายที่เรียนไม่จบ

 

เมื่อพูดถึง “ เลย์ “ คงไม่มีใครไม่รู้จักนะคะ และคิดว่าทุกคนคงมีรสโปรดอยู่ในใจกันแน่ๆเลยค่ะ เพราะ เลย์ คือ ขนมขบเคี้ยวประเภทมันฝรั่งแผ่นทอดกรอบหรือ Potato Chip ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคนี้เลยนะคะ แต่รู้ไหมคะ ว่ากว่าจะมาเป็น เลย์ ที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้นั้น อาณาจักรเลย์ ที่ยิ่งใหญ่ในวันนี้ เกิดจากชายที่เรียนไม่จบมหาวิทยาลัย ที่ชื่อ Herman W. Lay นั่นเองค่ะ ดังนั้นบทความนี้จะพามารู้จัก กับผู้ชายที่สร้างอาณาจักรเลย์ ที่ยิ่งใหญ่ และความเป็นมาของ เลย์ กันนะคะ ตามมาดูไปพร้อมกันเลยดีกว่าค่ะ

 

 

Herman W. Lay คือชายชาวอเมริกัน ที่เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1909 ที่เมืองชาร์ลอตต์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา โดยในช่วงปี 1920 เขาเป็นนักศึกษาทุนมหาวิทยาลัย Furman University แต่ด้วยเหตุผลบางอย่าง ทำให้ Herman W. Lay นั้นได้เรียนในรั้วมหาวิทยาลัยแค่เพียง 2 ปี ก็ลาออกมาทำงานหารายได้ให้กับตัวเองแล้ว โดยเขาได้เป็นเซลส์แมนขายบิสกิตในตอนแรก และได้เปลี่ยนมาเป็นเซลส์แมน ขายมันฝรั่งทอดให้กับบริษัท Barrett Food Company

 

 

โดยการขายของนั้น Herman W. Lay ได้ทำการการขับรถฟอร์ด โมเดล เอ วิ่งขายในรัฐจอร์เจีย ซึ่งจุดเปลี่ยนที่สำคัญในชีวิตของ Herman W. Lay ที่ได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้น ของมันฝรั่งแผ่นทอดกรอบเลย์ เกิดขึ้นมาจากในปี ค.ศ. 1932 นั้น Herman W. Lay ได้กำเงินเพียง 100 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อมาเปิดบริษัทตัวเองที่มีชื่อว่า “ H.W. Lay Distributing Company “ เพื่อเป็นตัวแทนจำหน่าย ให้กับมันฝรั่งแผ่นทอดกรอบของบริษัท Barrett Food Company

 

 

และในปี 1938 เขาได้ซื้อกิจการของ Barrett Food Company ซึ่งใช้เวลาแค่เพียง 6 ปีเท่านั้นนะคะ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “ H.W. Lay & Company “ เพื่อขายมันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ “แบรนด์เลย์” โดยมีรสแรก นั่นก็คือ มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบโรยเกลือ หรือรสออริจินัลในปัจจุบันนั่นเองนะคะ และต่อมาก็ตามมาด้วยรสบาร์บีคิว และซาวครีมหัวหอมนั่นเองค่ะ

 

หลังจากเปิดตัวมันฝรั่งแผ่นทอดกรอบเลย์ได้ไม่นาน Herman W. Lay  มองว่าชื่อบริษัท “ H.W. Lay & Company “ เป็นชื่อที่ยาวเกินไป จดจำค่อนข้างยาก จึงได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “ Lays “ เพื่อการจดจำได้ง่ายขึ้นนั่นเองค่ะ

จนกระทั่งผ่านมาอีก 23 ปีหลังจากซื้อกิจการ ในปี 1961 Herman W. Lay ได้พบกับความยิ่งใหญ่ของการเริ่มต้นแบรนด์มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ เลย์ ด้วยการจับมือร่วมกับคู่แข่งอย่าง Charles Elmer Doolin เจ้าของขนมขบเคี้ยวประเภทข้าวโพดอบกรอบแบรนด์ Fritos เปิดเป็นบริษัท “ Frito-Lay “

 

ความร่วมมือที่เกิดขึ้นได้แก่

– การรวมพลังสร้างความแข็งแกร่งธุรกิจด้านช่องทางจัดจำหน่ายให้มากยิ่งขึ้น เนื่องจาก Lays และ Frito มีช่องทางการขายที่แข็งแกร่งคนละพื้นที่

– โดยบริษัท Lays จะช่วยขายขนม Frito ในพื้นที่ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่บ้านเกิดของบริษัท Lays ที่เกิดในรัฐจอร์เจีย

– ส่วน Fritos ได้รับสิทธิ์ขายมันฝรั่งทอดกรอบเลย์ ในตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของธุรกิจ Fritos ที่เกิดในแซนแอนโทนีโอ รัฐเทกซัส

หลังจากที่ทั้งคู่ได้ผนึกกำลังขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เช่น การนำเลย์รุกตลาดเพื่อนบ้านอย่างแคนาดาในปี 1962 และเพียงอีกไม่กี่ปีต่อมา “ Frito-Lay “ ก็ได้พบกับจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ที่ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด จนกลายเป็นผู้นำในตลาดมันฝรั่งแผ่นทอดกรอบในปัจจุบันนั่นเองค่ะ และด้วยการเข้าร่วมกับบริษัท Pepsi-Cola ผู้ผลิตน้ำอัดลมเป๊ปซี่ และทำการตลาดในชื่อบริษัท PepsiCo

 

จากการที่ Frito-Lay รวมกับ PepsiCo นั้น ยังส่งผลทำให้ Lays มีพลังในการทำตลาดมากยิ่งขึ้นอีกด้วยนะคะ ด้วยการลงโฆษณาเลย์ทางทีวีครั้งแรกในปี 1966 เพื่อให้ชาวอเมริกันรู้จักเลย์ มากยิ่งขึ้นอีกด้วยนะคะ ซึ่งการโฆษณาของเลย์ทางทีวีนั้น ยังเป็นครั้งแรกในวงการโฆษณาอเมริกา ที่แบรนด์ขนมขบเคี้ยวมีโฆษณาทางทีวีอีกด้วยเช่นกันค่ะ

สำหรับในประเทศไทย เลย์ ทำตลาดภายใต้ บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ PepsiCo นะคะ

ใน 3 ปีที่ผ่านมา ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าพบกว่า บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด มีรายได้รวม และกำไรดังนี้ค่ะ

ปี 2561    13,942.232 ล้านบาท        กำไร 1,146.28 ล้านบาท
ปี 2562    11,252.97 ล้านบาท          กำไร 2,209.91 ล้านบาท
ปี 2563    11,226.09 ล้านบาท          กำไร 2,454.28 ล้านบาท

ทั้งนี้ตลาดขนมขบเคี้ยวในประเทศไทยในปีที่ผ่านมามูลค่า 33,731 ล้านบาท ลดลง 8.4% จากเศรษฐกิจชะลอตัว โดยมันฝรั่งเป็นกลุ่มที่มีเซกเมนต์ใหญ่สุดในตลาดนี้มีมูลค่าลดลง 2-3%

ที่มา : https://marketeeronline.co…

Scroll to Top